สาระน่ารู้ » 10 กฎจราจร ที่คนไทยมักจะทำผิดโดยไม่รู้ตัว

10 กฎจราจร ที่คนไทยมักจะทำผิดโดยไม่รู้ตัว

27 มิถุนายน 2020
4838   0

เคยไหม ขอบรถอยู่ดีๆ แต่ก็ยังมีใบเสียค่าปรับส่งมาถึงที่บ้าน คุณรู้หรือไม่ว่าอุบัติเหตุที่รุนแรงมักจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักง่ายและไม่เคารพกฎหมาย รวมไปถึงความไม่ตั้งใจหรือการกระทำความผิดจนกลายเป็นเรื่องปกติ โดยส่วนใหญ่พฤติกรรมการกระทำผิดเหล่านี้จะเป็นคนในพื้นหรือความไม่เป็นระเบียบจนเกิด ที่ซึ่งเมื่อหากไม่เคารพกฎก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งตนเองและผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดการศูนย์เสีย ฉะนั้นลองดูกันครับว่า พฤติกรรมเหล่านี้คุณเคยทำโดยไม่ตั้งใจบ้างหรือเปล่า

1.การเหยียบเส้นในเขตปลอดภัยหรือเส้นตาราง

เป็นความผิดอีกหนึ่งกรณีที่คนใช้รถใช้ถนนมักจะทำผิดบ่อยครั้งคือการขับรถทับเส้นขาว หรือ รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่าเส้นปลอดภัย ซึ่งมีไว้เพื่อเว้นระยะห่างของรถยนต์เพื่อความปลอดภัย และมีประโยชน์สำหรับรถที่มีปัญหา จอดเสีย ซึ่งหากละเมิดจะมีความผิด หากผู้ใดฝ่าฝืนเส้นจราจรดังกล่างจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อหาฝ่าฝืนเครื่องหมายบนพื้นทาง มัชีอัตราโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

2. การจอดรถบนทางเท้า หรือ ฟุตบาท

เป็นอีกหนึ่งข้อหาที่เรามักจะเห็นจนชินตา คือการจอดรถบนทางเท้าซึ่งอันที่จริงแล้วมีความผิดตามกฏหมายระบุออกมาชัดเจนห้ามจอดรถบนทางเท้า ใน พ.ร.บ จราจรทางบก มาตราที่ 57 ระบุไว้ว่า ห้ามจอดรถหรือขับขี่บนทางเท้า มีโทษปรับ 500 บาทและนอกจากนี้ยังมีโทษเพิ่มเติมอย่าง พ.ร.บ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17 วรรค2 ห้ามมิให้ผู้ใดจอดหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่จะเป็นการจอดหรือขับขี่เข้าไปในอาคาร หรือ ประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้ ส่วนผู้ฝ่าฝืนก็จะถูกปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท ตามที่กำหนดโทษไว้ในมาตรา 56 ของ พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน

3.ขับรถย้อนศร

ประเด็นที่อันตรายมากที่สุดสำหรับความผิดที่อาจจะต้องจ่ายค่าปรับด้วยชีวิต แต่ถ้าหากคุณรอดคุณก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 41 ระบุให้ผู้ขับขี่รถไปตามทิศทางที่กำหนด ใครฝ่าฝืน (ขับย้อนศร) มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ด้วยเหตุนี้จึงขอเตือน มาตรานี้โทษนี้หนักโดยบังคับใช้ในบางพื้นที่ควบคู่กับมาตรา 43 (8) ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่ให้แจ้งข้อหาฐานขับรถไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท

4.จอดรถทับเส้นทางม้าลาย

ถือว่าเป็นเรื่องเล็กที่ไม่ใช่เรื่องเล็กซึ่งการจอดทับทางม้าลายนอกจากที่ทำให้คนเดินถนนไม่ได้รับความสะดวกอาจจะเสี่ยงอันตรายแล้วยังผิดกฎหมายอีกด้วย ซึ่ง พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 57 ระบุไว้ว่า ห้ามจอดรถทับทางม้าลายหรือทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตร จากทางม้าลายหรือทางข้ามฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท

5.ฝ่าป้ายเลี้ยวซ้ายหยุดรอสัญญานไฟ

อีกหนึ่งความผิดที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้ความเคยชินในการใช้ถนนคือ ป้ายเลี้ยงซ้ายหยุดรอสัญญาณไฟ ซึ่งในกรณีนี้อาจจะกระทำโดยไม่ได้ตั้งในหรือไม่ชินทางเพราะป้ายสัญลักษณ์นี้เล็กจนสังเกตยาก ให้สังเกตหากมีสัญญานไฟเลี้ยวซ้ายนั่นคือต้องรอสัญญานไฟนั่นเองครับ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามเครื่องหมายจราจรที่ที่ติดตั้งไว้ระวางโทษ ปรับตั้งแต่สองร้อยถึงห้าร้อยบาท

6.ไม่ให้สัญญาณไฟขอทางเมื่อต้องการเปลี่ยนเลนส์

เรียกว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยจากการไม่ให้สัญญานไฟเลี้ยวเฉลี่ย 700 คนต่อปี การให้สัญญานมีความสำคัญในการใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่จะละเลยการเปิดไฟให้สัญญานซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อบอกให้รถคันหลังได้ทราบล่วงหน้าและเตรียมที่จะชลอตั้งแต่เนิ่นๆ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

7.ฝ่าฝืนไฟสัญญาณเหลือง

หลายคนอาจจะคิดแค่ว่าการฝ่าฝืนสัญญานไฟแดงนั้นมีความผิด แต่อันที่จริงแล้วฝ่าฝืนสัญญานไฟเหลืองนั้นก็มีความผิดเช่นกันซึ่งมีการเทียบปรับเทียบเท่ากับไฟแดงซึ่งเมื่อเห็นไฟเหลืองควรจะหยุดดีกว่า โดยอัตราเทียบปรับตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกได้รถบุไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อมีสัญญาณจราจรสีเหลืองอำพันปรากฎข้างหน้า ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เว้นแต่ผู้ขับขี่ขับเลยเส้นให้รถหยุดไปแล้ว หากฝ่าฝืน ผู้ขับขี่จะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท ฉะนั้นเมื่อเจอไฟเหลืองแนะนำให้หยุดดีกว่าครับ

8.ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด

อันตรายจากการขับรถเร็วเกิดกำหนด โดยทั่วไปแล้วถนนหลวงจะกำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเขตในเมืองของแต่ละจังหวัดจะถูกกำหนดที่ ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหลายๆคนก็มักจะฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเพื่อเปรียบเทียบปรับได้ แต่ในปัจจุบันจะใช้กล้องตรวจจับความเร็วเพื่อเปรียบเทียบปรับ มีอัตราเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท

9.กลับรถในที่ห้ามกลับ

การกลับรถในที่ห้ามกลับเรียกว่าเป็นการกระทำผิดโดยการจงใจเพราะการกลับรถในที่ห้ามกลับนั้นเป็นพฤติกรรมความักง่ายของผู้ละเมิด ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตทั้งตนเองและผู้อื่นได้
มาตรา 53 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่
(1) เลี้ยวรถหรือกลับรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวาห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามกลับรถ
(2) กลับรถที่เขตปลอดภัย ที่คับขัน บนสะพาน หรือในระยะหนึ่งร้อยเมตรจากทางราบของเชิงสะพาน
(3) กลับรถที่ทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถในบริเวณ
มีอัตราเปรียบเทียบปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท

10. จอดทับเส้นแทยงหรือเส้นห้ามหยุด

คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่า เส้นแทยงนี้คือพื้นที่ห้ามรถหยุด เรามักจะพบเจอบ่อยๆตามทางแยกใหญ่ๆ ซึ่งเส้นนี้จะถูกตีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขีดขวางจราจร หรือเกิดอุบัติเหตุจากรถเลนอื่นหากผู้ใดฝ่าฝืนหรือจอดทับไม่เว้นเส้นนี้จะมีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาทครับ

และนี่ก็เป็น 10 ข้อที่คนไทยมักจะกระทำผิดโดยไม่รู้ตัว หรือตั้งใจจนทำให้เกิดเหตุเสียชีวิตรายวัน ที่เราสามารถเห็นได้จากคลิ๊ปต่างๆที่แชร์ลงโซเชี่ยลต่างๆ ฉะนั้นด้วยความปราถนาดีจากทีมงาน Kitsadagoodcar โปรดศึกษาและปัฎิบัติตามกกฎจราจรอย่างเคร่งครัดนะครับ

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติม : ไม่อยากโดนใบสั่งมาทางนี้ เส้นสีฟุตบาทที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด