สาระน่ารู้ » ติดสติ๊กเกอร์เพื่อเปลี่ยนสีรถยนต์ผิดกฎหมายไหม?

ติดสติ๊กเกอร์เพื่อเปลี่ยนสีรถยนต์ผิดกฎหมายไหม?

1 กรกฎาคม 2020
19257   0

ติดสติ๊กเกอร์เพื่อเปลี่ยนสีรถยนต์ผิดกฎหมายไหม?
ในปัจจุบันสไตล์การแต่รถยนต์ มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น การติดสติ๊กเกอร์เปลี่ยนสีรถยนต์เป็นที่นิยมและยังมีประโยชน์ในเรื่องของการถนอมสีเดิมและปกป้องจากริ้วรอยต่างๆได้อีกด้วย จึงมีคำถามตามมาว่าถ้าหากเปลี่ยนสีด้วยการติดสติ๊กเกอร์นั้นจะมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่? แล้วควรต้องทำอย่างไร? วันนี้จะมาไขข้อข้องใจให้ได้ทราบกันนะครับ

การติดสติ๊กเกอร์เปลี่ยนสีตัวรถยนต์นั้น หรือเรียกกันติดปากว่า การ Wrap “แวร๊ป” คือการนำสติ๊กเกอร์มาปิดเพื่อบดบังสีเดิมเปลี่ยนลักษณะรูปลักษณ์ภายนอก หรือห่อหุ้มรถ โดยตามมาตรา 13 ของ พ.ร.บ. ขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงการแจ้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด หากฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 60 โทษปรับตั้งแต่ 200-2000 บาท

ภาพบรรยายจาก เว็บไซด์ Pantip

และการติดสติ๊กเกอร์รถยนต์ในปัจุจบันก็ไม่ได้มีเพียงแค่การติดสำหรับเปลี่ยนสีรถยนต์ทั้งคันเท่านั้น ยังมีการติดสติ๊กเกอร์แฟชั่นเพื่อเพิ่มลวดลายที่ตัวถังฝากระโปรงหน้า กันชนหน้า แก้มข้าง หลังคา ฝาท้าย หรือชุดแต่งต่างๆ หากไม่เกิน 30% ตามภาพด้านบน ในก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งเพื่อลงเล่มทะเบียน หรือทางที่ดี หลังจากที่ติดสติ๊กเกอร์แล้วควรให้เจ้าหน้าที่ตราจสภาพสำนักงานขนส่งประเมินและพิจารณาถึงความเหมาะสมจะโดยตามกฎหมายได้ระบุไว้ดังนี้

ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560″ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

  • ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
  • ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ของระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549

การกำหนดสีรถ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถกําหนดสีตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ – กรณีตัวรถมีสีเดียว ให้กําหนดสีที่เป็นสีหลัก โดยไม่ต้องคํานึงถึงความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ตามตัวอย่างสีรถที่กําหนดในภาคผนวก ก แนบท้ายระเบียบนี้ – กรณีตัวรถมีหลายสี โดยแต่ละสีแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนบริเวณตัวถังส่วนที่สําคัญของรถเช่น ฝากระโปรงหน้า-ท้าย หลังคา หรือประตู เป็นต้น ให้กําหนดสีที่เป็นสีหลักเป็นสีของรถ ไม่เกิน 3 สี แล้วแต่กรณี เช่น ตัวรถมี 2 สีกําหนดเป็นสี ขาว แดง หรือตัวรถมี 3 สี กําหนดเป็นสี ดํา ขาว เหลือง และหากตัวรถมีมากกว่า 3 สี และสามารถกําหนดสีหลักของตัวรถได้ให้กําหนดสีหลัก 3 สี ตามด้วยสีลําดับท้ายสุด “หลายสี” เช่น ขาว แดง หลายสี เว้นแต่กรณีไม่สามารถกําหนดสีใดเป็นสีหลักได้ ให้กําหนดว่า “หลายสี” เพียงอย่างเดียว – กรณีสีคาดหรือแถบคาดที่ใช้ตกแต่งรถ โดยไม่ทําให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงไป ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ แต่หากการตกแต่งรถทําให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงไป ให้กําหนดเป็นสีของรถตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง 5/1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีของรถไม่ว่าจะดําเนินการด้วยวิธีใด ๆ เช่น การติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือคาร์บอนเคฟล่า เป็นต้น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถพิจารณากําหนดสีรถให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 5 เว้นแต่กรณีการติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือวัสดุอื่นใด เพื่อการโฆษณาหรือตกแต่งรถเป็นรูปภาพ ข้อความ ตัวอักษร และลวดลายต่าง ๆ เพิ่มเติมบนสีรถในภายหลัง ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ

อ่านสาระเพิ่มเติม : 10 กฎจราจร ที่คนไทยมักจะทำผิดโดยไม่รู้ตัว