สาระน่ารู้ » ไขข้อข้องใจ ดัดแปลงรถตู้เพื่อใช้งานจะต้องจดเป็นป้ายอะไร

ไขข้อข้องใจ ดัดแปลงรถตู้เพื่อใช้งานจะต้องจดเป็นป้ายอะไร

20 ตุลาคม 2023
588   0

รถตู้เป็นรถที่สารพัดประโยชน์ที่หลายๆคนอาจจะคาดไม่ถึงนอกจากจะเป็นรถที่ใช้ในครอบครัว เป็นรถรับจ้าง รวมไปถึงดัดแปลงเป็นรถขนของแต่ก็จะต้องทำให้ถูกต้องเพื่อจะได้ใช้งานอย่างถูกกฎหมาย สำหรับบทความนี้จะมา พูดถึงว่าถ้าหากดัดแปลงรถตู้แต่ละแบบจะต้องดำเนินเอกสารอย่างไรบ้าง

1.รถตู้สำหรับโดยสารเกิน 7 ที่นั่ง
รถตู้โดยสารนั่งเกิน 7 ที่นั่ง เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 คน เช่นรถตู้ รถ MPV 11 ที่นั่ง จะมีการเรียกเก็บภาษี รถยนต์ประจำปี โดยกำหนดตามน้ำหนักของตัวรถ ดังนี้

  • ไม่เกิน 500 กก. อัตราค่าภาษีรถยนต์ 150 บาท
  • 501-750 กก. อัตราเสียภาษีรถยนต์ 300 บาท
  • 751 – 1,000 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 450 บาท
  • 1001 – 1,250 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 800 บาท
  • 1,250 – 1,500 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 1,000 บาท
  • 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 1,300 บาท
  • 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 1,600 บาท
  • 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 1,900 บาท
  • 2,501- 3,000 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 2,200 บาท
  • 3,001 – 3,500 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 2,400 บาท
  • 3,501 – 4,000 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 2,600 บาท
  • 4,001 – 4,500 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 2,800 บาท
  • 4,501- 5,000 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 3,000 บาท
  • 5,001 – 6,000 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 3,200 บาท
  • 6,001 – 7,000 กก. อัตราภาษีรถยนต์ 3,400 บาท
  • 7,001 กก. ขึ้นไป อัตราภาษีรถยนต์ 3,600 บาท

โดยอัตรานี้จะถูกเรียยกเก็บจนกว่าจะยกเลิกใช้งาน โดยน้ำหนักของตัวรถนั้น สามารถดูได้จากสมุดเล่มทำเบียนรถได้เช่นกัน โดยจะระบุไว้อย่างชัดเจน และจะต้องเสียค่าต่อทะเบียนรวมประจำปี รวม 1,900 บาท

2.รถตู้สำหรับแคมปิ้ง Camper Van
Camper Van เป็นรถตู้ที่ดัดแปลงมาเป็นรถบ้านทั้งอุปกรณ์ภายในตัวรถ ซึ่งในช่วงนี้คนนิยมที่จะดัดแปลงเพื่อใช้ในการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น เพราะทังสะดวก และ ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก ประหยัดเวลาในการ เคลื่อนย้ายไปได้เยอะ ไม่ต้องกลัวฝนไม่ต้องกลัวแดด แต่การจดรถประเภทนี้ก็ต้องทำให้ถูกต้อง

รถบ้านถูกกฎหมายไหม และอยู่ในรถยนต์ประเภทไหน?

โดยข้อกำหนดอยู่ตาม พรบ. รถยนต์ปี พ.ศ. 2522 หรือ (รย. 16)
โดยกำหนดตามความกว้าง
ความกว้างจะต้องวัดจากส่วนที่กว้างที่สุดของอุปกรณ์ที่เลยออกมาจากนอกรถ แต่จะไม่รวมกับกระจกมองข้าง และจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 2.55 เมตร และส่วนต่อเติมที่ยื่ืนเกินขอบยางด้านนอกของเพลาล้อหลังจะต้องไม่เกิน 15 เซนติเมตร

และความสูงให้วัดจากแนวดิ่งจากพื้นไปถึงส่วนสูงที่สุดของรถจะต้องมีความสูงไม่เกิน 4 เมตร

ความยาวจะถูกกำหนดไว้ซึ่งไม่ควรยื่นออกมาทท้ายตัวรถมากเกินไปจนอาจจะทำให้เกิดอันตราย

เมื่อมีการดัดแปลงรถตู้ให้เป็นรถบ้าน ก็จะถูกเปลี่ยนจากรถรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ให้กลายเป็นรถตู้บรรทุก หรือเอาง่ายๆคือ เปลี่ยนจากป้ายสีขาวตัวอักษรสีน้ำเงินเป็นป้ายสีขาวตัวอักษรสีเขียว ซึ่งก็คือ บรรทุกส่วนบุคคลนั่นเอง

3.รถรับส่งพนักงาน
เป็นรถโดยสารที่ใช้ในองค์กร โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานและง่ายต่อการเดินทาง สามารถควบคุมในเรื่องของเวลาของการทำงานได้ รถรับส่งพนักงาน เป็นรถโดยสาร เป็นรถโดยสารส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง หรือป้ายฟ้าซึ่งจะไม่จำเป็นจะต้องขึ้นทะเบียนอะไร สามารถใช้ได้เหมือนกับรถโดยสารทั่วไป

4.รถตู้รับจ้าง
รถตู้นำเที่ยววินรถตู้ หรือ รถตู้ไม่ประจำทางรวมไปถึงรถตู้ส่วนบุคคลซึ่งป้ายทะเบียนต่างกันแล้วลักษณะของสีป้ายทะเบียนก็ต่างกัน

รถตู้ที่วิ่งเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทย

รถตู้ รหัส 30-35 ป้ายเหลือง ตัวอักษรสีดำ
รถตู้นำเที่ยวเป็นรถตู้รับงานและวิ่งงานทั่วไป จะต้องทำการจดเป็นป้ายเหลือง 30 – 35 เป็นรหัสรถตู้แบบไม่ประจำทาง และภายในป้ายจะประกอบด้วยรหัสพื้นที่ และมีตัวอักษร Thailand เพื่อบอกตำแหน่งประเทศ ตามด้วยรหัสจังหวัด

รถตู้รหัส 36 ป้ายขาว ตัวอักษรสีขาว

รถตู้รับจ้างไม่ประจำทางเป็นรถตู้ไม่ประจำทางชนิดพิเศษ ตัวเลขหน้า 36 อักษรพื้นสีฟ้าป้ายสีขาวสะท้อนแสง มีตัวอักษร THAILAND ป้ายใหญ่ และตามด้วยรหัสจังหวัดรหัสประเภทรถ ขีดขั้นด้วยระหว่างตัวเลข หมายเลขของทะเบียน จะต้องมีตั้งแต่ 0001-9999 และจะต้องมีเครื่องหมาย ขส. ตามด้วยชื่อจังหวัด

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติม