ข่าวสารรถยนต์ » เลื่อนให้บริการ มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช 17 สัญญา รุกป่าสงวน

เลื่อนให้บริการ มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช 17 สัญญา รุกป่าสงวน

24 สิงหาคม 2020
2321   0

เรียกว่าอีกโค้งเดียวเท่านั้นเราก็จะได้ใช้เส้นทางที่ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่แห่งอีสานกันแล้ว เพราะกำหนดเสร็จและเปิดใช้ในปลายปี 2563 นี่ แต่..!! กลายเป็นว่าตกม้าตายเพราะ ต้องถูกเลื่อนออกไปอีก เพราะบางพื้นที่มีการรุกล้ำอยู่ในเขตป่าวสงวน และต้องรื้อปรับแก้ใหม่ ส่งผลให้ต้องเปิดมอเตอร์เวย์เส้นนี้ในปี 2566

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย รองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายดำเนินงานกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยกับ ว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร (กม.) 93.28 % ขณะนี้พบว่า บางช่วงต้องปรับแบบใหม่กว่า 10 สัญญา เนื่องจากติดปัญหาแนวเส้นทางผ่านป่าสงวน ในเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมา

หลังจากผู้รับเหมาเข้าพื้นที่สำรวจจึงพบว่า สัญญาที่ 11 อยู่ในบริเวณป่าเขา จึงตอ้งเปลี่ยนรูปแบบถนนบนพื้นราบให้กลายเป็นสะพานยกระดับแทน แต่ในขณะเดียวกันในพื้นที่บางเส้นได้มีการปรับแผนใหม่ แต่ก็พบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นหินทั้งหมด และจำเป็นจะต้องระเบิดปรับหินปรับสภาพพื้นที่ใหม่รวมทั้งแนวเวนคืนที่ดิน ในระยะเวลา 7-8 ปี ก็ไม่สามารถเวนคืนที่ดินได้

หลังจากเจ้าหน้าที่ผู้รับเหมาได้พื้นที่พบว่าแนวเส้นทางเวนคืนที่ดินนั้นไม่เหมาะสมในการถมดินเพราะไม่คุ้มค่ากับการปรับให้เป็นสะพานยกระดับการเปลี่ยนแบบกว่า 10สัญญา นั้นทำให้ต้องเพิ่มงบประมาณ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้ประมูลงานต่ำกว่าราคากลางราว 50,000 ล้านบาท ทำให้มีงบประมาณไม่เกินกรอบที่กำหนดไว้ ราวๆ 10,000 ล้านบาท ส่วนในวงเงินที่ขอเพิ่มนั้นยังไม่มีการสรุป เนื่องจากอยู่ในการปรับแบบและศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริงร่วมกับนาย สราวุธ ทรงศิวิลัย อธิบดีกรมทางหลวง

ขณะเดียวกันด้านงานก่อนสร้างดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 17 สัญญา พร้อมส่งมอบพื้นที่ให้ระบบ O&M ไปดำเนินการต่อ ส่วนสัญญาที่อยู่ระหว่างการก่อสร่าง ราวๆ 13 สัญญา สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากไม่ได้มีการปรับแผนเพิ่มเติม ขณะสัญญาที่ถูกปรับแบบกว่า 10 สัญญา เข้าขั้นวิกฤตจำเป็นต้องปรับแบบเพื่อดำเนินการได้ทันก่อนเปิดให้บริการภายในปี 2566

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา หรือทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข M6 เป็นหนึ่งโครงการสําคัญที่มีความจําเป็นเร่งด่วน โดยได้รับการบรรจุในแผนมาตรการเร่งรัดการลงทุน Action Plan ของกระทรวงคมนาคม และมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) ของกระทรวงการคลัง เพื่อเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

  • ผ่าน 3 จังหวัดได้แก่ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา
  • ระยะทางรวม 196 กม.
  • มูลค่าโครงการ 84,600 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง 77,970 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินอีก 6,630 ล้านบาท
  • แบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็น 40 สัญญา เพื่อการก่อสร้างที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ใช้งบประมานปี 2559 จำนวน 25 สัญญา
  • มีด่านเก็บค่าผ่านทาง 9 แห่ง พร้อมจุดบริการทางหลวง 8 แห่งตลอดเส้นทาง
  • เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2559
  • สัญญาเดิมแล้วเสร็จปี 2562 เปิดใช้งานปี 2563

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : ถือใบขับขี่ตลอดชีพเตรียมตัว กรมขนส่งทางบก Recall เรียกทดสอบความพร้อมร่างกายใหม่