ข่าวสารรถยนต์ » เหตุผลราคาน้ำมันลดลงมากที่สุด ในรอบ 29 ปี

เหตุผลราคาน้ำมันลดลงมากที่สุด ในรอบ 29 ปี

14 เมษายน 2020
650   0

เรียกว่าเป็นสิ่งที่น่าค้นหาเหตุผลอย่างยิ่งสำหรับราคาน้ำมันดิบ ว่าด้วยเหตุผลเหตุผลหลังๆที่ทำให้น้ำมันปรับราคาลดลงต่ำสุดในรอบ 29 ปี ตั้งแต่การเกิดสงครามอ่าว (Gulf War) ในปี 2534

โดยซาอุดิอาระเบีย ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันและลดราคาจำหน่ายน้ำมันในเอเชีย หลังโต๊ะเจรจาในเวทีโอเปคล่ม มหาอำนาจหมีขาวอย่างรัซเซียที่เป็นมหามิตร ไม่เห็นด้วยกับการพยุงราคาน้ำมันด้วยการลดกำลังผลิตลง ถึง 2% หรือ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันตามคำขอ

ภาพ

มูลเหตุเกิดจากการประชุมจุดประสงค์เพื่อที่หารือเรื่องการพยุงราคาน้ำมันโลกเนื่องจากสถานการ์ไวรัส Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะงัก รวมไปถึงการขนส่งและคมนาคมที่ชะลอตัวลง ราคาน้ำมันตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจึงปรับตัวลดลง

ผลจากการที่ไม่สามารถจูงใจรัสเซียให้ร่วมพยุงราคาน้ำมันได้ ทำให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ถึงขั้นปิดตลาดลดลงถึง 10.07% มาอยู่ที่ 41.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือน พ.ค. ร่วงลง 9.44% มาอยู่ที่ 45.27 ดอลลาร์ต้อบาร์เรล

แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นซาอุดิอาระเบียได้ประกาศที่จะเพิ่มน้ำมันให้มากยิ่งขึ้นให้ถึง 10 ล้านต่อบาร์เรลต่อวัน หรือ อาจจะมากกว่านั้น เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้เพียงแค่ 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน และยิ่งกว่านั้น ยังให้ซาอุดิอารามโก รัฐวิสาหกิจพลังงานของประเทศปรับลดราคาขายน้ำมันให้กับชาติเอเชียลดลง ทำให้หุ้นที่ซื้อขายในตลาดหุ้นภายในประเทศปรับตัวลดลงกว่า 10% หลุดราคาไอพีโอในที่สุด

แล้วซาอุดิอาระเบียทำแบบนั้นเพื่ออะไรหละ?

การตัดราคาน้ำมันนั้นเท่ากับว่ากรีดข้อมือตัวเองชัดๆ เรียกว่าเป็นแหล่งเงินอันมหาศาลหรือ รายได้หลักของประเทศที่มีอยู่ทางเดียวคือการค้าน้ำมัน แต่ถ้าเราลองกลับมามองความจริงแล้วการผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมากที่สุดนั่นก็คือ สหรัฐอะเมริกาไม่ใช่กลุ่มประเทศโซนโอเปกอย่างที่เราเข้าใจ โดยสามารถผลิตได้ถึง 12.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.6% ของกำลังการผลิตของโลก และส่วนที่สองคือมหาอำนาจหมีขาวอย่างรัซเซีย อยู่ที่ 11.2 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นร้อยละ 13.7% ของกำลังการผลิตของโลก และในส่วนอันดับ 3 ก็คือซาอุดิอารเบียคือ 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือคิดเป็น 12.1% ของกำลังการผลิตน้ำมันของโลกนั่นเอง

ภาพจาก wordpress.com

แล้วทำไมสหรัฐฯถึงได้ครองตำแหน่งผู้ผลิตน้ำมันที่มากที่สุดในโลกหละ?

ด้วยเทคโนโลยี Shale Oil หรือการสูบน้ำมันจากชั้นหินดานหรือเรียกว่าดูดมากจากชั้นหัวใจหลักของแหล่งน้ำมัน จึงทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก้าวกระโดดขั้นมาเป็นที่หนึ่งของการผลิตน้ำมันได้ใน 2-3 ปีที่ผ่านมานี้

แต่อันที่จริงแล้วการสูบน้ำมันมากจาก หัวใจหลัก Shale Oil นั้นยังมีต้นทุนสูงอยู่มาก ราวๆ 40 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะต้นทุกการผลิตน้ำมันของซาอุดิอารเบียต่ำสุดอยู่แค่ 20 เหรียญต่อบาร์เรล เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่แยบยลของซาอุดิอารเบีย เรื่องการเทียบต้นทุนการผลิตของตัวเองที่ถูกกว่ามาทำเป็นสงครามราคา (Price War) กับสหรัฐฯและรัสเซียนั่นเอง