ไม่มีหมวดหมู่ » ปรับโครงสร้างหนี้ ทำอย่างไรให้ผ่านพ้นในช่วง Covid-19 ไปด้วยดี

ปรับโครงสร้างหนี้ ทำอย่างไรให้ผ่านพ้นในช่วง Covid-19 ไปด้วยดี

19 มกราคม 2021
631   0

การปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ชีวิตของคุณดำเนินได้ง่ายและสะดวกมายิ่งขึ้นซึ่งหลังจากเหตุการณ์ Covid-19 เชื่อว่าเป็นวิกฤติทางการเงินรวมไปถึงภาวะขาดทุนหรือขาดรายได้ของใครหลายๆคนอย่างแน่นอน ทั้งหนี้ภาระบ้าน หนี้ภาระทางธุรกิจ รวมไปถึง ภาระการผ่อนรถยนต์

แล้วจะเริ่มต้นอย่างไรดีหละ?

1.หากคุณเริ่มรู้ตัวว่าเริ่มต้นที่จะผ่อนไม่ไหว ไม่ควรปล่อยให้เป็นหนี้เสีย ควรติดต่อสถาบันการเงินเพื่อที่จะได้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต

2.แต่ถ้าหากเป็นหนี้เสียแล้ว สามารถติดต่อสถาบันการเงินนั้นๆ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมต่อการผ่อนได้

3.การเจรจาเป็นสิ่งสำคัญ การยื่นข้อตกลงต่อสถาบันการเงินว่าแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้แบบนั้นที่จะเหมาะสมกับตัวคุณให้ได้มากที่สุด

วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ มีหลายแบบ

1.ยืดเวลาหนี้ การยืดระยะเวลาของหนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดหรือเรียกว่าเป็นวิธีที่ประนีประนอมที่สุดเลยก็ว่าได้เพราะช่วยให้ระยะเวลาที่ยาวออกไปและยอดผ่อนในแต่ละเดือนก็จะลดลงตามไปด้วย

  • ในการพิจารณาการยืดระยะเวลาผ่อนหนี้นั้นจะอิงตามอายุของผู้ขอประกอบด้วยซึ่งรายละเอียดเวลาผ่อนหลังชำระจะปรับโครงสร้างหนี้อยู่ประมาณ 8 ปี

2.การพักชำระเงินต้น ช่วยลดภาระการผ่อนได้ชั่วคราว โดยปกติแล้วค่างวดที่ผ่อนชำระจะประกอบด้วย 2 ส่วนก็คือ เงินต้นกับดอกเบี้ย เช่นเดิมทีสัญญาเงินกู้กำหนดผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน ละ 12,000 บาท จะประกอบด้วยเงินต้น 4,000 และดอกเบี้ย 8,000 บาท การพักชำระเงินต้นจะทำให้เหลือค่างวดนั้นเพียงแค่ 4,000 บาท ซึ่งเงินต้นนี้จะต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ในช่วงท้ายสัญญา หรือเรียกว่า Bolloon หรือทำให้ต้องแบกรับภาระหนี้และดอกเบี้ยนานขึ้น

  • สถาบันการเงินอาจจะพักชำระเงินต้นเป็นระยะเวลา 3-6 เดือน แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นลูกหนี้อาจจะนำเงินก้อนมา โปะ เพื่อที่จะลดหนี้ก่อนกำหนดตามสัญญา ซึ่งจะทำให้ภาระในเรื่องของดอกเบี้ยค่ามช้จ่ายมีจำนวนลดลง

3.การลดอัตราดอกเบี้ย ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงทำให้ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือนแบ่งไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และเมื่อเงินต้นลดลง ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกรากู้ยืมโดยมีอัตราดอกเบี้ย MOR+2% ต่อปี ได้รับผลกระทบทางเศราษฐกิจทำให้ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ไหวสามารถยื่นขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลง

  • การพิจาณาของสถาบันการเงินถือเป็นที่สิ้นสุด ทางสถาบันการเงินจะลดให้หรือไม่ดูจากองค์ประกอบโดยรวมหลายปัจจัน เช่น ต้นทุนของสถาบันการเงิน ประวันการผ่อนชำระของลูกหนี้ ประะเภทของสินเชื่อและหลักประกัน เป็นต้น

4.การยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยที่ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อต้นปี 2563 แบงก์ชาติได้ประกาศให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระเงินจริงเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย

  • สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยปรับได้ แต่จะต้องไม่เป็นภาระแก่ลูหนี้จนเกินสมควร หรือเป็นเหตุทำให้ลูกหนี้รับภาระหนี้สูงมากขึ้นจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ กลายเป็นหนี้เสียในเวลาต่อมา

5.เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ในภาวะและสถานการณ์ในอนาคตมีความไม่แน่นอนสูง เงินทุนหมุนเวียน เป็นปัจจัยที่จะช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจในยามที่ลำบาก และทำให้มีโอกาสฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็วได้ภายหลัง สถาบันการเงินแห่งชาติจึงสนับสนุนให้สถาบันการเงินสินเชื่อ Working Capital ใหม่แก่กิจการที่ยังมีศักยภาพ โดยแยกการจัดสินเชื่อ Working Capital นี้ออกจากสินเชื่ออื่นซึ่งอาจจะเป็น NPL ไปแล้ว ช่วยยังให้กิจการยังมีบัญชีสินเชื่อสถานะปกติไว้ใช้งานได้

  • ในส่วนของผู้กู้ควรเตรียมเหจุผลและการประมาณการใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า อาทิเช่นการ ค่าจ้างพนักงาน ค่าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าต่างๆ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆในการดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าอาคารสำนักงาน เป็นต้น เพื่อให้สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาวงเงินด้วย
  • สถาบันทางการเงินจะพิจารณาจากประวัติการผ่อนชำระ เช่น 1 ปี ที่ผ่านมาลูกหนี้ได้มีการชำระหนี้ทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินเท่าได Working Capital ที่ขอเพิ่มเติมิดเป็นสัดส่วนเท่าไดของภาระหนี้ทั้งหมด

6.การเปลี่ยนประเภทหนี้ หนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงควรถูกเปลี่ยนประเภทเป็นหนี้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่นลูกหนี้ SMEs ใช้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินเป็นเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยสูง 18% และ 28% หรือลูกหนี้มีวงเงิน O/D ใช้วงเงินเต็ม

  • สถาบันการเงินอาจเปลี่ยนจากสินเชื่อ หมุนเวียนที่อัตราดอกเบี้ยแพงเหล่านี้ไปเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (Term Loan) ที่ดอกเบี้ยถูกลง

7.การปิดจบด้วยเงินก้อน หากคุณมีความสามารถหาเงินก้อนได้จำนวนหนึ่ง หรือจากเงินออมหรือจากการยืมญาติหรือเพื่อน หรือจากการขายทรัพย์สิน แม้ว่าจะไม่มากพอต่อยอดหนี้ที่มีอยู่แต่ก็สามารถเจรจาขอส่วนลดให้เพียงพอต่อการปิดหนี้ปิดบัญชีได้ ซึ่งจะทำไห้หมดทั้งภาระและค่างวดรายเดือนไปอีกก้อนหนึ่ง

  • สถาบันการเงินอาจจะกำหนดให้ชำระเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันสัม้นๆ 6 เดือน หรือราวๆ 1-2 งวด อย่างไรก็ตาม การเจรจาขอปิดโดยมีส่วนลดจะทำใด้ค่อนข้างยากในกรณีที่มีหลักประกันมูลค่าสูงกว่ายอดนี้

8.การรีไฟแนนซ์ (refinance) คือการปิดสินเชื่อจากเจ้าหน้าที่เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ ที่ทำให้เงื่อนไขดีกว่า เช่นอัตราดอกเบี้ยถูกลง โดยนำหนี้ใหม่ไปชำระหนี้เดิมก่อนในประเทศไทนอาจจะคุ้นเคยกับการรีไฟแนนซ์สินเชื่อโดยมีรถ บ้าน หรือธุรกิจเป็นหลักประกันอยู่ระดับหนึ่งแล้ว

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติม