สาระน่ารู้ » ขายดาวน์อย่างไรให้ปลอดภัย ไร้ปัญหาที่จะตามมาภายหลัง

ขายดาวน์อย่างไรให้ปลอดภัย ไร้ปัญหาที่จะตามมาภายหลัง

16 พฤศจิกายน 2020
1539   0

การขายดาวน์ หรือที่เราเข้าใจกันคือการขายรถยนต์ในขณะที่ยังติดไฟแนนซ์หรือการทำสัญญาให้ผู้อื่นผ่อนต่อในขณะยังติดไฟแนนซ์ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจว่าในระยะเวลาที่ผู้เช่าซื้อมีการผ่อนติดอยู่กับไฟแนนซ์นั้นกรรมสิทธิ์นั้นยังเป็นของทางธนาคารที่ให้จัดไฟแนนซ์อยู่ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นรถมือสองหรือรถมือหนึ่งนั้น ผู้กู้นั้นไม่จะสามารถกระทำใดๆหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาการเช่าซื้อนั้นได้จนกว่า รถจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้ก็ต่อเมื่อผู้กู้ได้ชำระเงินครบตามสัญญาเงินกู้แล้วเท่านั้น

สรุปง่ายๆคือ ถ้าหากยึดตามหลักของกฎหมายนั้นผู้กู้จะไม่สามารถนำรถไปขายได้นั้นเองตามอำเภอใจ เว้นแต่ผู้ขอกู้จะติดต่อกับทางไฟแนนซ์และทำสัญญาเพื่อเปลี่ยนผู้ผ่อน ฉะนั้นบนความนี้มาดูกันครับ ว่าการขายดาวน์ที่กล่าวข้างต้นมีวิธีอย่างไรเพื่อให้ถูกต้องปลอดภัยและไร้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง

ตัวอย่างเล่มหนังสือรถยนต์

แล้วถ้าแบบนี้เวลาที่ติดไฟแนนซ์แต่หากต้องการจะขายรถดาวน์ให้ถูกกฎหมายและเพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาตามมาทีหลังจะต้องทำอย่างไรหละ ?

  • เริ่มต้นด้วยวิธีแรกคือการนำเงินสดของผู้ซื้อมาปิดไฟแนนซ์เพื่อให้รถเป็นของเราโดยสมบูรณ์ก่อนพอได้สมุดเล่มทะเบียนค่อยนำไปขาย

แต่ถ้าหากว่าวิธีแรกมันไม่ง่าย วิธีที่สองคือการ “ขายดาวน์” แต่วิธีนี้จะต้องทำอย่างรอบคอบเพราะอาจจะมีปัญหาตามมาภายหลังได้

อันที่จริงมันคล้ายๆกับวิธีข้างต้นนั้นแหละครับแต่แค่เปลี่ยนจากการนำเงินของตัวเองไปปิดสัญญา ก็นำเงินของผู้ซื้อไปปิดสัญญาแทน ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ตกลงซื้อขาย 500,000 แล้วยังติดไฟแนนซ์ที่ 300,000 และในวันที่ซื้อขายก็เดินทางไปที่ธนาคารที่กู้ด้วยกันเลยแล้วก็ทำตามนี้เลยครับ

แบบแรกคือการซื้อด้วยเงินสดครบเต็มจำนวน

1.ให้ผู้เช่าซื้อนำเงินที่เตรียมไปปิดบัญชีที่ 300,000 แล้วก็จ่ายเงินที่เหลือให้กับผู้ขายไปอีก 200,000 ก็ถือว่าผู้ขายนั้นได้เงินดาวน์ มาแล้ว 200,000 บาทนั่นเอง

2.ผู้ขายแจ้งให้ไฟแนนซ์โอนเงินข้ามเป็นชื่อของผู้ซื้อไปเลย ซึ่งการโอนข้ามไปเป็นชื่อผู้ซื้อเนี้ยไฟแนนซ์อาจจะดำเนินการให้แต่บางสถาบันก็ไม่ดำเนินการให้ ถ้าไฟแนนซ์ไม่ดำเนินการให้ผู้ขายก็จะต้องให้ไฟแนนซ์โอนเข้าชื่อผู้ขายก่อน แล้วผู้ขายก็ทำชุดโอนจากผู้ขายให้ผู้ซื้อเก็บไว้เพื่อที่จะให้ผู้ซื้อไปโอนต่ออีกที โดยผู้ขายจะต้องแจ้งกับทางไฟแนนซ์ว่าจะมอบอำนาจให้ผู้ซื้อมารับสมุดเล่มทะเบียนแทน

การดำเนินการเรื่องการชำระเงินจำเป็นจะต้องไปจ่ายด้วยกันทุกครั้งนะครับเพราะทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องเก็ยสำเนาบใบเสร็จการปิดปัญชีกับสัญญาซื้อขายไว้เป็นหลักฐานด้วย

แบบที่สองคือ ซื้อด้วยการจ่ายเงินมาบางส่วน แล้วในส่วนที่เหลือก็ขอผ่อนกับไฟแนนซ์ต่อในสัญญาเดิม

หรือวิธีการที่เราอาจจะเคยได้ยินมาบ้างคือ “การเปลี่ยนคู่สัญญา” นั้นเอง ขั้นตอนก็จะมีตามนี้ครับ

1.ให้ผู้ซื้อเตรียมเอกสารที่จะต้องใช้ในการขอสินเชื่อ หรือถ้าจะเอาให้ชัวร์คือต้องใช้เอกสารอะไรบ้างก็สามารถสอบถามกับไฟแนนซ์โดยตรงจะทดีที่สุดครับเพราะเอกสารที่ใช้นั้นต่างกันนิดหน่อย

2.ไปยื่นขอเปลี่ยนผู้เช่าซื้อกับทางไฟแนนซ์ โดยผู้ขายและผู้ซื้อจะต้องเดินทางไปด้วยกันอย่าลืมนำเอกสารที่ไฟแนนซ์จะต้องใช้ไปด้วยนะครับ ทางไฟแนนซ์จะเอาเอกสารไปพิจารณาว่าจะสามารถเปลี่ยน ผู้เช่าซื้อได้หรือไม่ เอาง่ายๆคล้ายกับไฟแนนซ์จะพิจาณาเครดิตของผู้ซื้อเพื่อที่จะดำเนินการจัดไฟแนนซ์ต่อนั่นแหละครับแต่ผู้ซื้อนั้นจะได้ประโยชน์คือได้ผ่อนงวดต่อจากสัญญาเดิมที่ผู้ขายผ่อนไปแล้วนั่นเองและในขั้นตอนนี้ผู้ขายยังต้องเก็บรถไว้ก่อนนะครับ อย่าเพิ่งให้รถกับผู้ซื้อไปและอย่าเพิ่งเอาเงินดาวน์ของผู้ซื้อมานะครับเพราะจะต้องรอให้ไฟแนนซ์อนุมัติเปลี่ยนผู้เช่าซื้อให้เรียบร้อยก่อน

3.เมื่อเครดิตของผู้เช่าซื้อผ่าน ไฟแนนซ์อนุมัติว่าเปลี่ยนผู้เช่าซื้อได้ ผู้ซื้อและผู้ขายก็จะต้องเดินทางไปไฟแนนซ์ด้วยกันอีกทีเพื่อไปเซ็นสัญญาการเช่าซื้อตัวจริง และจ่ายค่าดำเนินการค่างวดล่วงหน้า ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ราวๆ 8,000 บาท และจะต้องจ่ายค่างวดล่วงหน้า 2 งวด ซึ่ง 2 งวดนี้จะเอาไปหักกับค่างวดที่เหลือ 42 งวดก็จะเหลือ 40 งวดนั่นเองเมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้ครบแล้วผู้ขายก็รับเงินดาวน์ตามที่ตกลงกันไว้กับผู้ซื้อ แล้วจึงเอารถให้กับผู้ซื้อ

เพราะฉะนั้นการดำเนินการทำเอกสารให้ถูกต้องนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าหากคุณไม่ทำให้ถูกต้องปัญหาที่ตามมาคือผลกระทบทุกอย่างจะตกอยู่กับผู้ขายทั้งๆที่ยังเป็นหนี้อยู่แต่ก็ต้องผ่อนรถให้เขาถ้าหากนำเงินจากผู้ซื้อไม่ได้ ผู้ขายก็จำใจจะต้องผ่อนต่อไปแต่ถ้าไม่มีเงินไปผ่อนขาไฟแนนซ์ก็จะบอกเลิกสัญญาและตามไปยึดรถคืนแต่เมื่อเราได้ขายรถโดยไม่มีการดำเนินเอกสารใดๆไปแล้วไม่มีรถคืน ทางผู้ขายก็จะถูกดำเนินคดีทางแพ่ง และผู้ขายก็จะต้องใช้หนี้ไฟแนนซ์ตามกฎหมายทางแพ่งกันต่อไป

และในกรณีที่ผู้ขายนั้นไม่ยอมผ่อนต่อหรือไม่ยอมใช้หนี้ตามคดีทางแพ่ง เพราะถ้าหากว่าคิดว่าการมีสัญญาซื้อขายนั้นจะช่วยให้ปัดความผิดไปยังผู้ซื้อ และคิดว่าให้ไฟแนนซ์ไปตามเอารถที่ผู้ซื้อเอง บอกเลยว่าไม่เป็นผลนะครับเพราะทางสัญญาซื้อขายจะเป็นหลักฐานมัดตัวผู้ขายด้วยซ้ำ เพราะต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่ารถไม่ได้เป็นของเราตั้งแต่แรก เราเป็นเพียงผู้ครอบครองเท่านั้น เราไม่สามารถนำรถของเขาไปขายได้ เพราะรถเป็นทรัพย์สินในสัญญาเงินกู้ถ้าไฟแนนซ์ทราบว่าเรานำรถเขาไปขายก่อนจะที่จะปิดสัญญา ทางไฟแนนซ์มีสิทธิ์ที่จะฟ้องดำเนินคดีได้ทางแพ่งและอาญา เพราะทางเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ที่จะยื่นฟ้องว่าเป็นการยักยอกทรัพย์ได้เลยนะครับ

อ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติม :