ข่าวสารรถยนต์ » โตโยต้าพัฒนา เครื่องยนต์ไฮโดรเจนเหลวใน GR Corolla เข้าแข่งขันในรายการ “S-Tai Fuji 24 Hr”

โตโยต้าพัฒนา เครื่องยนต์ไฮโดรเจนเหลวใน GR Corolla เข้าแข่งขันในรายการ “S-Tai Fuji 24 Hr”

28 พฤษภาคม 2024
240   0

ผู้อำนวยกสนโครงการ แผนกพัฒนารถ GR Toyota Motor Cop. นายนาโออะกิ อิโต (Naoaki Ito) ได้กล่าวถึงการส่งรถยนต์ หมายเลข #32 ORC Rookie GR Corolla H2 Concept หรือ โคโรลล่าเครื่องยนต์ ไฮโดรเจน ที่ใช้ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงเข้าร่วมการแข่งขัน Fuji SUPER TEC 24 ชั่วโมงสนามที่สองของซีรีส์ ENEOS Super Taikyu Series 2024 Empowered By BRIDGESTONE ตามที่ Toyota มุ่งมั่นที่จะพัฒนายานยนต์และคนขับผ่านสภาพแวดล้อมที่แสนจะยากลำบากในสนามแข่งมอเตอร์สปอร์ต และสร้างวิวัฒนาการเครื่องยนต์แบบ ไฮโครเจนเหลว

การพัฒนาปั้มป์ไฮโดรเจนเหลวให้มีความคงทนมากยิ่งขึ้น พัฒนา “ปั๊มป์” ที่จะอัดความดันไฮโดรเจนเหลวเพิ่มขึ้นเพื่อส่งใปให้เครื่องยนต์มีความทนทานมากขึ้นเป็นอย่างมาก และสามารถวิ่งได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ โดยจะต่างจากการแข่งขัน 24 ชั่วโมงของปีที่แล้ว ที่ต้องเปลี่ยนไป 2 ครั้ง

เครื่องยนต์ไฮโดรเจนส่งกำลังได่โดยการเผาไหม้ไฮโดรเจนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งจะถูกอัดเข้าห้องเครื่องยนต์โดยตรง โดยเครื่องยนต์ไฮโดรเจนของ Toyota จะอัดอากาศด้วยการให้แรงอัดแบบหมุนไปกลับของระบบลูกสูบ หรือระบบแรงอัดแบบหมุนไปกลับ ส่งไฮโดรเจนจากถังเก็บเชื้อเพลิงไปยังเครื่องยนต์ ปั๊มป์นี้ต้องรับกับช่วงแรงอัดมหาศาลที่เกิดจากแรงอัดแบบหมุนไปกลับของลูกสูบทำให้ตลับชิ้นส่วนที่ทำให้เหลาหมุนรับแรงมหาศาลรวมไปถึงเฟืองเกียร์ เป็นเหตุทำให้เกิดการสึกกร่อนและเสื่อมสภาพได้ง่าย

เพิ่มระยะเวลาวิ่งด้วยถังเชื้อเพลิงทรงจากเดิม ให้เป็นรูปทรงกระบอก เป็นทรงต่างๆ ทำให้ไฮโดรเจนเหลวที่สามารถเติมได้มากยิ่งขึ้นทำให้สามารถวิ่งได้ยาวนานกว่าเดิม

หากเป็นเชื้อเพลิงก๊าซไฮโดรเจนต้องเป็นถังแบบทรงกระบอกเพื่อการกระจายแรงดันมหาศาลในขณะที่ไฮโดรเจนเหลวมีแรงดันน้อยกว่าก๊าซไฮโดรเจน สามารถใช้ถังเชื้อเพลิงทรงต่างจากเดิมได้

จึงมีการออกแบบให้เป็นถังเชื้อเพลิงแบบทรงวงรี เพื่อใช้พื้นที่ในห้องโดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลปริมาตรของเชื้อเพลิงเพิ่มมากยิ่งขึ้นเป็น 1.5 เท่า ถ้าหากเทียบกับแรงดันถังเดิมที่ใช้ถังก๊าซไฮโดรเจนอัดที่ความดัน 70 เมกกะปาสคาล เมื่อลองทดสอบแล้วทำให้เชื้อเพลิงที่สามารถบรรจุได้ในถังวงรี เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

อุปกรณ์กู้คืนอ CO2 เปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติ
เทคโนโลยีการกู้คืน CO2 จะเป็นเทคโนโลยีที่จะกู้คืน CO2 แต่เดิมที่มีอยู่ในอากาศอยู่แล้ว และด้วยการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติซึ่งมีจุดเด่นคือการดูดอากาศได้จำนวนมาก และความร้อนที่เกิดจากการเผมไหม้ ที่มีในเครื่องยนต์สันดาป โดยการติดตั้งการกู้คือ CO2

คือมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับดูดซัก ก๊าซ CO2 เข้าที่ดูดอากาศของแอร์คลีนเนอร์ พร้อมด้วยการติดตั้งอุปกรณ์แยก CO2 ที่เกิดจากความร้อนของน้ำมันเครื่องเข้าที่ด้านข่้างของอุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อกู้คืน CO2 ที่แยกตัวออกมาเก็บไว้ในถังขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยน้ำยาดูดซับ

เดิมทีได้ติดตั้งระบบสลับเปลี่ยนการดูดซับ CO2 ด้วยระบบแมนนวล แต่ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นระบบอัตโนมัติสำหรับการเปลี่ยนการประมวลผลการดูดซักและการแยกตัว โดยการหมุนฟิลเตอร์ดูดซับ CO2 อย่างช้าๆ ในระหว่างการขับเคลื่อน

เรียกว่าเป็นความพัฒนาครั้งสำคัญของระบบไฮโดรเจน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกสู้สนามแข่ง โดยนายมาซิฮโกะ คอนโดะ ผู้จัดการทีมผู้มีประสบการแข่ง Super GT หรือซุปเหอร์ฟอร์มูล่า ของสนามแข่งและยังเป็นประธานของ JRP ผู้จัดแข่งขันฟอมูล่า พร้อมกับ ยาลิ-มาติ แรทบาลาตัวแทนทีม TGR-WRT จะเข้า จะเข้าร่วมเป็นนักแข่งสำหรับสนาม Fuji 24 ชั่วโมงเพื่อร่วมท้าทายครั้งยิ่งใหญ่กับ GR Corolla

อ่านข่าวสารรถยนต์เพิ่มเติม